เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา 1/2558 Topic: ทักษะและกระบวนการเรียนรู้ทางคณิต 1
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
การสอนคณิตศาสตร์เพื่อมุ่งให้เกิดทักษะที่สำคัญ ได้แก่ ทักษะการแก้ปัญหา (Problem Solving), ทักษะการมองเห็นภาพหรือรูปแบบที่ซ่อนอยู่ (Patterning), ทักษะการคิดสร้างสรรค์และการให้เหตุผล (Creative Thinking and Reasoning) และทักษะการสื่อสาร (Communication) เพื่อให้เกิดความร่วมมือและพบวิธีหรือคำตอบเอง (Meta conition)

W3-5 : จำนวนจริง

Web เชื่อมโยงเนื้อหาเกี่ยวกับระบบจำนวนที่ครูจะใช้สอนเด็กนักเรียนในหน่วยนี้

เป้าหมายรายสัปดาห์เข้าใจและสามารถอธิบายความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างโครงสร้างระบบจำนวนและมองเห็นความเชื่อมโยงของจำนวนต่างๆ ก่อนจะมาเป็นโครงสร้างระบบจำนวน และสามารถนำความมาประยุกต์ใช้แก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้
Week
Input
Process
Output
Outcome








3-5
26 พ.ค. 2558
ถึง
12 มิ.ย. 2558


โจทย์
โครงสร้างระบบจำนวน
Key  Question
นักเรียนคิดว่าตัวเลขต่างๆ ที่ครูติดไว้หน้ากระดาษ เลขตัวใดบ้างน่าจะจัดอยู่กลุ่มเดียวกันและทำไมจึงจัดอยู่กลุ่มเดียวกัน
เครื่องมือคิด
Show and Share นำเสนอวิธีคิด จากตัวเลขที่ครูติดไว้บนกระดาน

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- เกมตัวเลขแสนกล
- ชุดตัวเลข
- เส้นจำนวน
- ผังระบบโครงสร้างของจำนวน


ชง  ครูและนักเรียนเล่นเกมการคิดทางคณิตศาสตร์ ตัวเลขแสนกล
- ครูอิบายเกี่ยวกับกติกาของเกมให้ทุกคนฟัง
- ครูพาเล่นเกมดังกล่าว เพื่อทบทวนเกี่ยวกับเรื่องของจำนวน
- ครูติดตัวเลขที่เตรียมมาไว้หน้ากระดาน (จำนวนต่างๆ ที่อยู่ในระบบโครงสร้างของจำนวน อาทิเช่น จำนวนเต็ม(บวก ศูนย์ ลบ) จำนวนไม่เต็ม(เศษส่วน ทศนิยม) จำนวนตรรกยะและจำนวนอตรรกยะ)
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าตัวเลขต่างๆ ที่ครูติดไว้หน้ากระดาษ เลขตัวใดบ้างน่าจะจัดอยู่กลุ่มเดียวกันและทำไมจึงจัดอยู่กลุ่มเดียวกัน?”
เชื่อม นักเรียนร่วมสังเกต และนำเสนอความคิดเห็น
- นักเรียนที่ยกมือแสดงความคิดเห็น ออกมานำเสนอ ช่วยครูและเพื่อนๆ จัดกลุ่มตัวเลขในกลุ่มต่างๆ (ตามความเข้าใจ) และอธิบายเหตุผลที่ตนเองเลือกตัวเลขชุดนี้อยู่ด้วยกัน
ชง  ครูใช้คำถามกระตุ้นสม่ำเสมอ “ใครที่ต้องการเสนอเพื่อน / ใครมีความเห็นที่ต่างจากเพื่อนๆ ที่ออกมาจัดหมวดหมู่บ้าง?”
เชื่อม นักเรียนที่เสนอเหตุผลที่ต่างออกมาย้ายกลุ่มตัวเลข
- นำเสนอเหตุผล และกลุ่มจำนวนที่ตนเองเลือกมาอยู่กลุ่มเดียวกัน
ใช้ ครูและนักเรียนจัดแต่ละหมวดหมู่จำนวนต่างๆ มาสร้างเป็นโครงสร้างระบบจำนวน
เชื่อม : ครูให้นักเรียนช่วยกันสังเกตความสัมพันธ์ต่างๆ ที่เชื่อมโยงกันในโครงสร้าง
- ให้นักเรียนแต่ละคนอธิบายความเข้าใจในโครงสร้างดังกล่าว(ตัวเลขกลุ่มใดเคนเรียนใสแล้ว, รู้จักความหมายของจำนวนนั้นอย่างไร, ให้ยกตัวอย่างเพิ่มเติมจากที่ครู เพื่อนๆ เสนอไว้ก่อนหน้านี้)
ใช้ ครูให้การบ้านฝากนักเรียนทุกคนไปทบทวนระบบโครงสร้างจำนวน (การสร้างเส้นจำนวน , จำนวนตรรกยะ กับจำนวนอตรรกยะ)
ภาระงาน
- นักเรียนช่วยกันคิดว่าตัวเลขชุดใดน่าจะจัดอยู่กลุ่มเดียวกัน   ออกแบบงานลงในสมุดมดคิด
- นักเรียนสร้างโครงสร้างระบบจำนวนจำลองในสมุดทดคิดไว้ทุกคนในแผ่นกระดาษที่ครูเตรียมไว้ให้
- นำเสนอเหตุผลในการจักกลุ่มจำนวน และการการสร้างโครงสร้างระบบจำนวน

ชิ้นงาน
- ใบงานออกแบบโครงสร้างระบบจำนวน
- ทำงานลงสมุดเกี่ยวกับผังโครงสร้างระบบจำนวนที่นักเรียนรู้จัก
ความรู้
การสร้างโครงสร้างระบบจำนวนและมองเห็นความเชื่อมโยงของจำนวนต่างๆ   ก่อนจะมาเป็นโครงสร้างระบบจำนวน

ทักษะ
ทักษะการให้เหตุผล
สามารถให้เหตุผลเกี่ยวกับการจัดกลุ่มตัวเลขของนักเรียนแต่ละคน และการออกแบบระบบโครงสร้างจำนวน
ทักษะการแก้ปัญหา
สามารถแก้ปัญหาต่างๆ เกี่ยวโจทย์สถานการณ์เกี่ยวกับโครงสร้างระบบนวน
ทักษะการเห็นแบบรูป
มองเห็นความสัมพันธ์ของชุดตัวเลขที่มาจัดหมวดหมู่ ก่อนจะนำมาสร้างโครงสร้างระบบจำนวน
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องที่เรียนเกี่ยวกับระบบจำนวนนำมาเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นและอธิบายความเข้าใจของตนเองให้ผู้อื่นเข้าใจได้

คุณลักษณะ
สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากกระบวนการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด / ที่แตกต่าง / เพิ่มเติมความคิดเห็น
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น


ภาพกิจกรรมการเรียนการสอน
                นักเรียนเริ่มได้เรียนเนื้อหาเกี่ยวกับระบบจำนวน แต่เป็นการทบทวนความรู้ เพราะเรื่องเกี่ยวกับจำนวนนักเรียนได้เรียนรู้ช่วยเรียนประถมศึกษาฯ
_ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนรู้จำนวนใดบ้างที่เรียนมาช่วงประถม?”
นักเรียนออกมาเขียนจำนวนที่พวกเขารู้จักไว้บนกระดาน เกือบ 12 จำนวน(ที่แตกต่างกัน) ครูช่วยจัดระบบจำนวนให้นักเรียนมองเห็นภาพโครงสร้างจำนวนได้ง่ายขึ้น






นักเรียนแชร์ความรู้สึกของตนเองเพื่อให้นักเรียนคนอื่นเติมเต็มจำนวนต่างๆ และช่วงสร้างกิ่งโครงสร้างของจำนวนต่างๆ ออกเป็นกิ่งสาขาของจำนวน เช่น จำนวนเต็ม, จำนวนไม่เต็ม ฯลฯ
_ส่วนเนื้อหาจำนวนตรรกยะแลจำนวนอตรรกยะ ส่วนนั้นครูให้นักเรียนร่วมกัยสืบค้นข้อมูลมานำเสนอต่อครูและเพื่อนๆในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์



นักเรียนร่วมกันออกแบบโครงสร้างอีกครั้งลงในสมุด

1 ความคิดเห็น:

  1. นักเรียนเริ่มได้เรียนเนื้อหาเกี่ยวกับระบบจำนวน แต่เป็นการทบทวนความรู้ เพราะเรื่องเกี่ยวกับจำนวนนักเรียนได้เรียนรู้ช่วยเรียนประถมศึกษาฯ
    _ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนรู้จำนวนใดบ้างที่เรียนมาช่วงประถม?”
    นักเรียนออกมาเขียนจำนวนที่พวกเขารู้จักไว้บนกระดาน เกือบ 12 จำนวน(ที่แตกต่างกัน) ครูช่วยจัดระบบจำนวนให้นักเรียนมองเห็นภาพโครงสร้างจำนวนได้ง่ายขึ้น

    นักเรียนแชร์ความรู้สึกของตนเองเพื่อให้นักเรียนคนอื่นเติมเต็มจำนวนต่างๆ และช่วงสร้างกิ่งโครงสร้างของจำนวนต่างๆ ออกเป็นกิ่งสาขาของจำนวน เช่น จำนวนเต็ม, จำนวนไม่เต็ม ฯลฯ
    _ส่วนเนื้อหาจำนวนตรรกยะแลจำนวนอตรรกยะ ส่วนนั้นครูให้นักเรียนร่วมกัยสืบค้นข้อมูลมานำเสนอต่อครูและเพื่อนๆในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์

    นักเรียนร่วมกันออกแบบโครงสร้างอีกครั้งลงในสมุด

    ตอบลบ